
อยากเป็นช่างเทคนิคประกอบรถยนต์ ควรเริ่มต้นเรียนอะไร
การเป็นช่างเทคนิคประกอบรถยนต์ หรือช่างยนต์ ถือเป็นหนึ่งอาชีพในฝันของเด็กหนุ่มหลายๆคน ในปัจจุบันนั้นปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ผลพวงจากการแห่ไปเรียนสายสามัญกันมากเกินไปนั้น ทำให้เกิดสภาวะล้นตลาดของผู้ที่จบการศึกษาในระดับชั้น ปริญญาตรี กลับกันสายอาชีพนั้นกลับกลายเป็นเส้นทางที่สดใส หลายสาขาวิชาที่จบออกมานั้นมีงานที่ทำแล้วสามารถที่จะรองรับได้มากกว่า หนึ่งในสายอาชีพที่เด็กหนุ่มหลายคนนั้นชื่นชอบมากนั้นก็คือช่างยนต์
สำหรับผู้ที่ต้องการอยากจะเป็นช่างเทคนิคประกอบรถยนต์นั้น มีทั้งสายสามัญและสายอาชีพ
โดยสายสามัญนั้นผู้เรียนจะเลือกต่อระดับ มหาวิทยาลัย ในสาขาวิศวกรรมยานยนต์ ซึ่งจะมีความเจาะลึกในเรื่องของการผลิตยานยนต์ในทุกขั้นตอน เพื่อประกอบอาชีพที่เกี่ยวกับอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ทั้งหมด โดยจะมุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับวิศวกรรมยานยนต์ และกลไกการทำงานของชิ้นส่วนยานยนต์ การนำเชื้อเพลิงและพลังงานมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อการผลิตทางอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพชีวิตของมนุษย์
ส่วนในด้านของสายอาชีพนั้นก็มีสาขาที่เกี่ยวข้องมากมาย รูปแบบการเรียนและการสอนก็มุ่งเน้นในเชิงเดียวกันแต่จะแตกต่างกันออกไปบ้าง ตามรูปแบบที่วิทยาลัยนั้นๆได้ตั้งไว้ ทั้งสาขายานยนต์ และ สาขายานยนต์สมัยใหม่ โดยที่การเรียนการสอนนั้นจะเน้นไปในเรื่องการซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ต่างๆ โดยในสายอาชีพนั้นจะเน้นการเรียกการสอนในรูปแบบที่เน้นการฝึกทักษะ การปฏิบัติงานจริง ประสบกสรณ์ และการทดลองสิ่งใหม่ๆ เช่น ความรู้พื้นฐานเครื่องยนต์ การใช้อุปกรณ์งานช่าง วัสดุเชื้อเพลิง การถอดประกอบเครื่องยนต์ การคำนวณต่างๆ ที่จำเป็นต่องานช้าง วิชากลศาสตร์ วิชาเทคโนโลยีสมัยใหม่
สำหรับสาขายานต์ยนต์สมัยใหม่นั้น จะได้วิศวกรรมยานยนต์ที่มีความรู้พื้นฐานของวิศวกรรมเครื่อง กลโดยสามารถที่จะประยุกต์ใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์เพื่อการออกแบบและเทคโนโลยีการผลิตเพื่อการใช้งานจริง ในอุตสาหกรรมยานยนต์ได้
สำหรับสาขานี้หากจบออกมาแล้วนั้น จะได้ทำงานที่เกี่ยวกับ
– การพัฒนาและปรับปรุง ประกอบ โครงสร้างของเครื่องยนต์หรือระบบยานพาหนะอื่นๆ
– การพัฒนาข้อกำหนดด้านวิศวกรรมหรือการประมาณค่าใช้จ่ายสำหรับการออกแบบยานยนต์
– ดำเนินการทดสอบการออกแบบยานยนต์
– ควบคุมและพัฒนากระบวนการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
– ทดสอบระบบ วิเคราะห์ ดัดแปลงบำรุงรักษา และซ่อมบำรุงยานยนต์
– รวมไปถึงการดูแลระบบต่างๆ ภายในรถยนต์ เครื่องยนต์ต้นกำลัง อุปกรณ์ถ่ายเทความร้อน ภาชนะใส่ก๊าซภายใต้ความดัน ระบบเครื่องปรับอากาศ อุปกรณืที่ใช้อำนวยความสะดวกต่างๆ
ทักษะความรู้ที่ควรใช้
- การอ่านจับใจความ การทำความเข้าใจเกี่ยวกับใจความสำคัญของประโยค และย่อหน้าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงาน
- การเรียนรู้ในเชิงประยุกต์ ทำความเข้าใจกับข้อมูลใหม่ๆ เพื่อใช้นำมาประกอบการตัดสินใจและแก้ไขปัญหาทั้งในปัจจุบันและอนาคต
- การคิดอย่างมีวิจารณญาณ การใช้เหตุผลหรือตรรกะต่างๆในการระบุจุดแข็งและจุดอ่อนของทางเลือกต่างๆที่มีเพื่อหาข้อสรุปในการแก้ปัญหา
- การตัดสินใจ การพิจรณาทั้งข้อดีและข้อเสียและทำการเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุดในการทำงาน
- การแก้ไขปัญหาที่ซับซ้อน การที่ระบุปัญหาและทบทวนข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะทำการประเมินทางเลือกต่างๆในการแก้ไข
- การประเมินระบบ การระบุเกณฑ์วัดคุณภาพของระบบและสิ่งที่ต้องทำ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของเป้าหมาย
- การออกแบบ ความรู้เกี่ยวกับการทำความเข้าใจความต้องการของกลุ่มผู้ใช้งานและการออกแบบ รวมถึงการเขียนแบบในเชิงเทคนิคที่ต้องอาศัยความแม่นยำ
- เครื่องจักรกล ความรู้เกี่ยวกับการออกแบบ ใช้งาน ซ่อมแซมและบำรุงรักษาเครื่องมือหรืออุปกรณ์ต่างๆ ทางจักรกล
- คณิตสาสตร์ ความรู้เกี่ยวกับ เลขคณิต พีชคณิต เรขาคณิต แคลคูลัส สถิติ เพื่อที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน
- คอมพิวเตอร์และอิเล็กทรอนิกส์ ความรู้เกี่ยวกับแผงวงจรไฟฟ้า หน่วยประมวลผล ชิป อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ฮาร์ตแวร์ และซอฟแวร์ของคอมพิวเตอร์ รวมถึงการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ
- ฟิสิกส์ ความรู้เกี่ยวกับหลักการต่างๆ กฎเกณฑ์ความสัมพันธ์ ที่ใช้อธิบายปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ หลักกลสาสตร์ ไฟฟ้า โครงสร้างอะตอม และอนุภาค
- การบริการลูกค้า ความรู้เกี่ยวกับการประเมินปัญหารวมไปถึงความต้องการของลูกค้า การบริการ การประเมินความพึงพอใจของลูกค้า และรวมไปถึงการปรับปรุงการให้บริการแก่ลูกค้า